Konjunktiv II

Konjunktiv II ใช้ในกรณีต่อไปนี้

  • แสดงความฝัน ความปราถนา เรื่องสมมติ เรื่องที่ไม่เกิดขึ้นจริง
  • เงื่อนไขที่ไม่เป็นจริง (irreale Bedingung) โดยใช้กับ wenn
  • ใช้ถามและขอร้องด้วยความสุภาพ
  • ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะโดยใช้กับ Modalverb

การสร้างประโยค Konjunktiv II ต้องคำนึงถึงกาล (Tempus) เช่นเดียวกับการสร้างประโยค Indikativ คือ ปัจจุบัน (Präsens) อดีต (Vergangenheit) และอนาคต (Zukunft)

กาลปัจจุบัน (Präsens)

สำหรับกาลปัจจุบันจะมีความเป็นไปได้ 2 ทางในการสร้างประโยค Konjunktiv II คือ

  1. ใช้โครงสร้าง würden + Infinitiv ในกรณีที่เป็นกริยาที่ผันตามกฎ (schwache Verben)
  2. ใช้กริยาในรูป Konjunktiv II โดยตรง ในกรณีที่เป็นกริยาที่ผันไม่ตามกฎ (starke Verben) แต่สำหรับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันจะนิยมใช้ Konjunktiv II โดยตรงกับกริยาต่อไปนี้เท่านั้น
    ⇒ HIlfsverben (กริยาช่วย): sein, haben, werden
    ⇒ Modalverben (กริยาช่วยแสดงลักษณะการกระทำ): können, müssen, dürfen, sollen, wollen
    ⇒ กริยาผันไม่ตามกฎ (starke Verben) บางตัว เช่น: kommen, gehen, lassen, geben, wissen

นอกเหนือจากนี้ จะนิยมใช้โครงสร้าง würden + Infinitiv ทั้งกับกริยาที่ผันตามกฎและผันไม่ตามกฎ (schwache und starke Verben)  สรุปได้ดังตารางนี้

Konjunktiv II (Präsens – ปัจจุบัน)

นิยมใช้กริยาในรูป Konjunktiv IIwürden + Infinitiv
Hilfsverben (กริยาช่วย): sein, haben, werdenกริยาผันตามกฎ (schwache Verben)
Modalverben (กริยาช่วยแสดงลักษณะการกระทำ): können, müssen, dürfen, sollen, wollenกริยาผันไม่ตามกฎ (starke Verben)
กริยาผันไม่ตามกฎ (starke Verben) บางตัว เช่น: kommen, gehen, lassen, geben, wissen-

จากตารางสรุปข้างบนนี้เราจะนำกลุ่มกริยาในช่องซ้ายสุดมาผันในรูป Konjunktiv II ซึ่งปกติแล้วจะสร้างมาจากรูป Präteritum

Hilfsverben (กริยาช่วย)

InfinitivPräteritumKonjunktiv IIich / er / sie / es *duwir / sie / Sie **ihr
seinwarenwärenwärewär(e)stwärenwäret
habenhattenhättenhättehättesthättenhättet
werdenwurdenwürdenwürdewürdestwürdenwürdet

starke Verben (กริยาผันไม่ตามกฎ)

InfinitivPräteritumKonjunktiv IIich / er / sie / es *duwir / sie / Sie *ihr
kommenkamenkämenkämekämestkämenkäm(e)t
gehengingengingengingegingestgingenginget
gebengabengäbengäbengäbstgäbengäbt
lassenließenließenließeließestließenließet
wissenwusstenwüsstenwüsstewüsstestwüsstenwüsstet

Modalverben (กริยาช่วยแสดงลักษณะการกระทำ)

InfinitivPräteritumKonjunktiv IIich / er / sie / es *duwir / sie / Sie *ihr
könnenkonntenkönntenkönntekönntestkönntenkönntet
müssenmusstenmüsstenmüsstemüsstestmüsstenmüsstet
dürfendurftendürftendürftedürftestdürftendürftet
sollensolltensolltensolltesolltestsolltensolltet
mögenmochtenmöchtenmöchtemöchtestmöchtenmöchtet
wollenwolltenwolltenwolltewolltestwolltenwolltet

 

หมายเหตุ: จากตารางการผันข้างต้น จะเห็นว่า ich / er / sie / es จะมีรูป Konjunktiv II เหมือนกัน และ wir / sie / Sie ก็มีรูป Konjunktiv II เหมือนกัน

 

กาลอดีต (Vergangenheit)

Konjunktiv II จะมีโครงสร้างประโยคในกาลอดีต ดังนี้

  1. ใช้กับกริยาแท้: wären / hätten + Partizip II
  2. ใช้กับกริยาช่วย Modalverben: hätten + Infinitiv + Modalverb (รูปดั้งเดิม)

จากหลักการผันและหลักสร้างประโยคข้างต้น เราจะมาดูการใช้ในแต่ละกรณีตามที่กล่าวไว้ในตอนต้น

แสดงความฝัน ความปราถนา เรื่องสมมติ เรื่องที่ไม่จริง

Indikativ:          Ich bin ein Millionär. ฉันเป็นเศรษฐี  [เรื่องจริง]
Konjunktiv II:   Ich wäre so gerne ein Millionär. ฉันอยากเป็นเศรษฐีจังเลย [ความฝัน/เรื่องไม่จริง]

Indikativ:           Meine Tochter isst gerne Sashimi (rohen Fisch). ลูกสาวฉันชอบกินปลาดิบ [เรื่องจริง]
Konjunktiv II:    Ich würde Sashimi nicht essen. ฉันจะไม่กินปลาดิบ [ความปราถนา]